วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย

 “เครื่องดนตรี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องบรรเลง
ซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมไว้ และ
เป็นเครื่องหมาย อย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของชาติไทย เช่นเดียวกับภาษา และ ศิลปวัฒนธรรม
ด้านอื่น ๆ สมควรที่เราจะภาคภูมิใจและช่วยกันทะนุบำรุง ส่งเสริมและรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่สืบไป
ในเบื้องต้นนี้ เราควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีไทย อันอาจจะก่อให้เกิดความรักและ ความสนใจ


เครื่องดนตรีไทย จะแบ่งออกได้   4  ประเภท คือ  ดีด  สี  ตี  เป่า
 เครื่องดนตรีประเภทดีด

จะเข้

จะเข้





จะเข้เป็นเครื่องดีด 3 สาย สันนิษฐานว่าจะวิวัฒนาการมาจากกระจัปปี่เพราะกระจัปปี่มีนำหนักมาก ถือดีดนานๆเข้าก็เมื่อย
วางลงกับพื้นแล้วแก้ไขดัดแปลงให้เหมาะกับวิธีที่จะดีดกับพื้น เดิมทีเดียวมีรูปร่างเหมือนจะเข้ข้างใน ให้กลวงเป็นโพรงเพื่อให้เสียง
ก้องกังวาน เลยเรียกเครื่องดีดชนิดนี้ว่า "จะเข้ " ต่อมาแก้ไขปรับปรุงใหม่ ทำรูปร่างไม่ให้เหมือนจะเข้ ทีเดียวเพื่อให้เสียงไพเราะและ
สะดวกขึ้นจึงมีรูปร่างเหมือนจะเข้ในปัจจุบัน รูปร่างของจะเข้ ตัวจะเข้ทำเป็น 2 ตอน ตอนตัวและ ตอนหัวทำเป็นกระพุ้งใหญ่
ทำด้วยไม้แก่นขนุน ทั้งหัวและหางขุดเป็นโพรงตลอดถึงกันมี 3 สายสายหนึ่งใช้ลวดทองเหลืองอีก 2 สายใช้เอ็น มีลูกบิดประจำสาย
เพื่อใช้ขึงสายให้ตึงหรือหย่อนตามต้องการ

ซึง
ซึงเป็นเครื่องดีดพื้นเมืองภาคเหนือมี 4 สาย สันนิษฐานกันว่าจะมีชื่ออื่นมาก่อน เพราะ " ซึง"เป็น ภาษาพม่าที่เข้ามามี
อิทธิพลต่อภาษาเหนือเมื่อ 200-300 ปีที่ผ่านมา ซึงมีหลายชนิด ที่นิยมเล่นกันในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ ซึงดั้งเดิม (เล็กที่สุด) ซึงกลาง และซึงหลวง ตัวกระโหลกและคันทวนมักทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียวกัน ขุดคว้านตอนที่เป็น กระโหลกให้เป็นโพรง แล้วใช้ไม้แผ่น
ตัดกลมเจาะรูกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้าเพื่ออุ้มเสียงให้เกิดกังวาน นอกจากใช้เล่นเดี่ยวแล้ว ใช้เล่นกับ สะล้อในวงสะล้อ
และซึง เล่นเพลงพื้นเมืองเหนือ
เครื่องดนตรีประเภทสี
ซออู้
ซออู้
ซออู้เป็นซอ 2 สาย ตัวกระโหลกซอทำด้วยกระลามะพร้าวชนิดกลมรีขนาดใหญ่ ปาดกระลาออก ด้านหนึ่งขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัว
ใช้เอ็นหรือไหมทำสาย โดยผูกปลายทวนแล้วขึงผ่านคันทวนที่ใช้ไม้จริงหรืองาตัน ไปผูกกับปลายลูก บิด 2 อัน คันสีหรือคันชักทำด้วย
ขนหางม้า ขนหางม้าถูกคีบอยู่ระหว่างสายซอทั้ง 2 เส้น ซออู้มีเสียงทุ้มนุ่นนวลใช้เล่นดำเนินตามแนว เนื้อเพลงหรือเล่นขัดล้อกับซอด้วง
จัดเป็นพวกเครื่องตามใช้ผสมวงในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ซอด้วง

ซอด้วง

 

ซอด้วงเป็นซอ 2 สาย สายทำด้วยเอ็นหรือไหม กระโหลกซอแต่เดิมใช้ไม้ไผ่ ต่อมาใช้ไม้จริงคว้านให้เป็น โพรงเหมือนอย่างกระบอก
ไม้ไผ่ มีลักษณะคล้ายด้วงดักสัตว์ จึงเรียกชื่อตามลักษณะรูปร่างคือซอด้วง เนื่องจากกระโหลกซอด้วงเล็ก กว่าซออู้ ซอด้วงมีคันชักทำด้วย
ขนหางม้า และมีคันชักอยู่ติดกับตัวซอเช่นเดียวกับซออู้ ซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงเครื่องสาย และ วงมโหรีมีหน้าที่ดำเนินแนว
เนื้อเพลงจัดเป็นพวกเครื่องนำในวงเครื่องสาย

ซอสามสาย
ซอสามสาย
ซอสามสายเป็นเครื่องสีที่มี 3 สาย มีกระโหลกซอทำด้วยกระลามะ พร้าวชนิดพิเศษที่เป็นกระลานูนเป็นกระพุ้ง 3 ปุ่มขึงหนังแพะ
หรือหนังลูกวัว ปิดปากกระลานำไปติดกับคันทวน สายซอทำด้วยเอ็นขึ้นสายผ่านไปยังลูกบิด ตรง กระโหลกซอด้านหน้าขึงหนังใต้สายมี
หย่องสำหรับหนุนสายให้ตุงออกมา และด้านหน้าซอตอนบนซ้ายจะมีถ่วงหน้า ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำ คัญมากถ่วงหน้าจะต้องมีนำ
หนักได้ส่วนกับขนาดและความหนาของหนังจึงจะทำให้เกิดเสียงไพเราะ วัตถุที่ใช้ทำถ่วงหน้าก็สุด แล้วแต่ฐานะของเจ้าของซอ
มีตั้งแต่แก้วสีสวยๆไปจนถึงทองคำฝังเพชร ซอสามสายนี้เป็นซอที่งามที่สุดในจำนวนซอทั้งหลาย นับว่าเป็นซอสมัยสุโขทัยโดย
แท้ เพราะว่าศิลปกรรมสมัยสุโขทัยนั้นรูปร่างงดงามอรชรอ่อนช้อยทั้งสิ้น ถือกันว่าเป็นศิลปกรรมยุค ที่เจริญถึงขีดสุด

สะล้อ

สะล้อ
เป็นเครื่องสีพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมที่เกิดก่อนซออู้และซอด้วง ลักษณะของสะล้อนั้นมีแบบคล้ายๆกับซอด้วง มีคันทวนต่อจากตัวซอ ขึ้นไปสำหรับใส่ลูกบิดขึงสายที่ทำด้วยลวดเล็กๆหรือไหมฟั่นเข้าด้วยกันเป็นเกลียว หน้าซอทำด้วยไม้บางๆ ใช้สีด้วยคันชักที่ขึงหางม้ากับแขนงไผ่เล็กๆ ตัวหางม้า ไม่อยู่ระหว่างสายซอทั้งสอง สะล้อมีลูกบิดเสียบจากข้างหน้าไปข้างหลังซอ
เครื่องดนตรีประเภทตี

กรับพวง
กรับพวง




    เป็นการทำไม้ซี่หลายๆอันมารวมกันเข้าเพื่อตีคนเดียวให้เกิดเสียงดังมากขึ้น กรับพวงเป็นไม้บางๆหรือ แผ่นทองเหลือง หรือแผ่นงาเจาะรูตอนหัวร้อยเชือกประกบไว้โดยมีไม้แก่นหรืองา 2 อันประกบหน้าหลังคลี่ออกได้อย่างพัด เวลาตีให้จังหวะ ใช้มือหนึ่งถือตรงหัวที่ร้อยเชือกแล้วตีพาดอีกข้างหนึ่งลงฝ่ามืออีกมือหนึ่ง ใช้ประกอบวงขับไม้ในสุโขทัย วงมโหรีเครื่องสีในสมัย อยุธยาประกอบการร้องเพลงหรือดอกสร้อยสักวา ใช้ในวงบรรเลงเครื่องสายและวงมโหรี
     
     

    ระนาดทุ้ม

    ระนาดทุ้ม
      ลูกระนาดทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับระนาดเอก แต่ลูกระนาดยาวและกว้างกว่าแต่มีลูกระนาดน้อยกว่า คือมีเพียง 17-18 ลูก รางมีรูปคล้ายหีบไม้ที่โค้งตรงกลาง ใช้ไม้ตีชนิดเดียวคือ ไม้ตีระนาดทุ้มมีหน้าที่ดำเนินเนื้อเพลงคล้ายกับฆ้อง หรือขัดหรือล้อหรือขัด กับระนาดเอก เล่นทั้งลูกล้อและลูกขัดจัดเป็นเครื่องตาม

     
     

    ฆ้องวงใหญ่

    ฆ้องวงใหญ่
    เป็นการนำฆ้องขนาดต่างๆที่มีขนาดและเสียงเหมาะสม ประกอบกับความคิดที่ได้จากฆ้องรางมาคิดสร้าง ฆ้องวงขึ้น โดยใช้ต้นหวายมาดัดโค้ง 2 ชั้นทำเป็นโครงแขวนลูกฆ้อง 16 ลูก ลูกฆ้องมีขนาดเส้นผ่านศุนย์กลางตั้งแต่ 12-17 ซม. เว้นโครง หวายให้คนตีเข้าไปนั่งตรงกลางหมุนตีได้เกือบรอบตัว ใช้ไม้ตี 2 อัน

    รำมะนามโหรี

    รำมะนามโหรี
      เป็นรำมะนาที่มีขนาดเล็กที่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากลองประมาณ 26 ซม. ตัวรำมะนากว้างประมาณ 7 ซม.ตีด้วยมือ ให้สอดสลับกับโทนมโหรีปัจจุบันมักใช้คนตีคนเดียวกัน คือตีทั้งโทนและรำมะนาใช้ทำหน้าทับในวงเครื่องสาย และวงมโหรี เครื่องเล็กถ้าเป็นวงมโหรีเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ นิยมใช้กลองแขกคู่หนึ่ง

     

    กลองทัด

    กลองทัด

    เป็นกลอง 2 หน้าตัวกลองทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในให้เป็นโพรงตรงกลางป่องเล็กน้อย ขึ้นหน้ากลองด้วยหนังวัว ตรึงด้วยหมุด กลองทัดเป็นกลองใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 46 ซม.สูง 51 ซม.ตั้งทแยงเข้าหากันตีด้วย ไม้ 2 ท่อนปัจจุบันนิยม ใช้ 2 ลูกเป็นกลองเสียงสูง(กลองตัวผู้)กลองเสียงตำ(กลองตัวเมีย)อย่างละลูก

กรับเสภา
กรับเสภา



ซึง

    เป็นไม้แก่น มักใช้ไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 20 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.และหนาประมาณ 5 ซม.มีลักษณะ เป็นท่อนไม้ สี่เหลี่ยมลบเหลี่ยมออกให้หมดเพื่อให้กลิ้งกระทบกันได้ง่าย ใช้ประกอบการขับเสภาจึงได้ชื่อว่ากรับเสภา การขับเสภาเป็น การเล่านิทานมีทำนองเสนาะอย่างกลอน เรียกว่าขับเสภาแต่เดิมไม่มีดนตรีประกอบคนขับจะขยับกรับเป็น จังหวะ 2 คู่คือมือละ คู่ขยับให้กรับกลอกกระทบกันเข้ากับการขับ
เครื่องดนตรีประเภทเป่า

ปี่ชวา
ปี่ชวา


มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน คือตัวปี่ทำเป็นสองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียวยาวค่อยขยาย ออกเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่าง
บานปลายเป็น ลำโพงปี่ เวลาเป่านำมาสวมเข้าด้วยกัน จะมีลักษณะเหมือนดอกลำโพงมีก้านเรียวยาว ลำโพงและ ตัวปี่ยิ่งเล็กเสียงก็จะ
ยิ่งแหลมสูงเสียงแหลมที่สุดไม่ใช้ผสมวงบรรเลง นอกจากใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพหรือพระศพ ร่วม กับกลองชนะและปี่ขวาปี่ชวา
โตกว่าปี่ไฉนเสียงตำกว่าปี่ไฉน แต่ก็ยังมีเสียงแหลมสูงเมื่อเทียบกับเครื่องเป่าชนิดอื่น นอกจากใช้ในกระบวน แห่พระบรมศพแล้ว ก็ใช้
ผสมวงในวงเครื่องสายปี่ชวา วงปี่กลองมลายู วงบัวลอย วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงปี่กลองแขก
ขลุ่ยหลีบมีชื่อเต็มว่า ขลุ่ยหลีบเพียงออ ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ มีขนาดเล็กและสั้นกว่าขลุ่ยเพียงออ ใช้ไม้รวกขนาดเล็กปล้องสั้นๆ เสียงจึงแหลมสูงกว่ขลุ่ยเพียงออ ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม เช่นเดียวกันแต่ป็นวงเครื่องคู่ หรือ เครื่องใหญ่

ขลุ่ยอู้
 
ขลุ่ยอู้





ขลุ่ยอู้เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ที่สุด ต้องใช้ไม้รวกลำใหญ่ปล้องยาวทำ ขลุ่ยชนิดนี้จึงมีเสียงทุ้มตำมาก และมี เสียงคล้ายซออู้ จึงเรียก
ขลุ่ยอู้ เคยใช้ในวงเครื่องสายวงใหญ่ แต่เนื่องจากหาขลุ่ยและคนเป่าได้ยากขึ้น จึงไม่นำมาผสมวงในระยะหลัง นี้ จะพบบ้างในวงปี่พาทย์
ดึกดำบรรพ์ แต่เดี่ยวนี้ขลุ่ยอู้ชักจะหายไป คงเหลือแต่ขลุ่ยเพียงออกับขลุ่ยหลีบเท่านั้น

ปี่ใน
ปี่ใน
 


แคน
แคน

ปี่ในเป็นปี่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกปี่ที่ทำด้วยไม้จริงคือตัวปี่ยาวประมาณ 42 ซม. กว้างประมาณ 4.5 ซม. มีเสียงตำที่สุดใน
จำนวนพวกเดียวกันปี่ในใช้ผสมวงใมวงปี่พาทย์ ปี่พาทย์ไม้แข็ง ประกอบการแสดงโขนละคร ฌป็นปี่ที่เลียน เสียงบทร้องได้ชัดเจนที่สุด เช่นบทร้องฉุยฉาย ปี่ชนิดนี้แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปและใช้ผสมวงมากที่สุด และทางอีสานใต้เรียกปี่ชนิดนี้ ว่า ปี่สไล

ปี่มอญ
 
ปี่มอญ


มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน คือตัวปี่ทำเป็นสองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียวยาวค่อยขยาย ออกเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่าง
บานปลายเป็น ลำโพงปี่ เวลาเป่านำมาสวมเข้าด้วยกัน จะมีลักษณะเหมือนดอกลำโพงมีก้านเรียวยาว ลำโพงและ ตัวปี่ยิ่งเล็กเสียงก็จะยิ่ง
แหลมสูง เสียงแหลมที่สุดไม่ใช้ผสมวงบรรเลงนอกจากใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพหรือพระศพร่วมกับ กลองชนะและปี่ขวาปี่มอญ
มีเสียงทุ้ม ลึก ตำ เป็นปี่ของมอญ ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ หรือวงปี่พาทย์ไทยเมื่อบรรเลงเพลงมอญ เคยมีผู้นำ มาบรรเลงในวงเครื่องสาย
ผสมด้วย
เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือ ที่ใช้ไม้ซางขนาดต่างๆกันเป็น ลูกแคน ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคนแคนเป็นสัญลักษณ์
ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะ ไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคน ต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและ
ดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภท เช่น แคนหก แคนเจ็ด เป็นต้น

ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยเพียงออ

เป็นขลุ่ยที่มีเสียงปานกลางมีขนาดกลาง ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ ไม้นวม และวงปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์เป็นเครื่อง
ดนตรีที่น่าส่งเสริมให้ฝึกหัดกันมากๆ เพราะราคาไม่แพงรูปร่างกระทัดรัด นำติดตัวไปได้สะดวก เสียงไพเราะ ผู้สนใจจะฝึกได้ไม่ยากนัก

ปี่จุม

ปี่จุม

ปี่จุมเป็นปี่พื้นเมืองภาคเหนือ ที่น่าจะเป็นเครื่องเป่าที่เก่าแก่ที่สุด เพราะวัสดุและลักษณะการประดิษฐ์ ง่ายกว่าแคน ดังข้อ
สันนิษฐานของอาจารย์ปัญญา รุ่งเรือง ที่ว่า "ส่วนปี่ซอ" (ปี่จุม) ก็คือลูกแคนนี้เอง ใช้ลิ้นโลหะประกอบกับไม้ ไผ่เข้าแล้วเจาะรูเพื่อบังคับ
เสียงอย่างปี่ที่ใช้กันอยู่ภาคเหนือเดี๋ยวนี้ ซึ่งมักบรรเลงกันเป็นวง โดยเป่าปี่คนละอัน ใช้ปี่ที่มีขนาดต่างๆกัน วงละหลายๆเลา เวลาเป่า
ก็ใช้ปากอมตรงลิ้นโลหะให้ไม้ไผ่แนบสนิทกับปาก แล้วใช้มือทั้งสองบังคับเสียงด้วยการเอานิ้วอุดที่รูของปี่นั้น เช่นเดียวกับการเป่าขลุ่ย
ดังกล่าวแล้ว ชาวภาคเหนือเรียกปี่ชนิดนี้ว่า ปี่ เฉยๆแต่เป็นปี่ที่ต้องเล่นรวมวง เพื่อให้เกิดการประสานเสียง จึงมักเรียกกันว่าวงปี่จุม

ปี่นอก
ปี่นอก

เป็นปี่เล็กที่สุดในจำพวกปี่ที่ทำด้วยไม้จริง มีเสียงแหลมที่สุด ใช้ผสมวงในวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา (ปี่พาทย์ชาตรี) ประกอบการ
แสดงละครโนห์ราชาตรี ใช้ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ และเครื่องใหญ่